เมนู

คำว่า อตฺถสนฺทสฺสเน - ในการแสดงให้เห็นชัดซึ่งอรรถ-
ธรรม
ความว่า ในการแสดงให้เห็นชัดซึ่งอรรถธรรมต่าง ๆ แก่ชน
ทั้งหลายเหล่าอื่น. ธรรมทั้งหลายและอรรถทั้งหลาย ชื่อว่า อรรถธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง.

40. อรรถกถา ทัสนวิสุทธิญาณุทเทส


ว่าด้วย ทัสนวิสุทธิญาณ


บัดนี้ เพื่อจะแสดงทัสนวิสุทธิอันเป็นเหตุแห่งการแสดงตาม
สภาวธรรม ของพระอริยบุคคลนั้นผู้กำลังแสดงให้เห็นชัดอยู่แก่ชน
ทั้งหลายเหล่าอื่นด้วยธรรมิกถา พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอา
ทัสนวิสุทธิญาณขึ้นแสดงต่อจากอัตถสันทัสนญาณนั้น.
ในทัสนวิสุทธิญาณนั้น คำว่า สพฺพธมฺมานํ เอกสงฺคหตา
นานตฺเตกตฺตปฏิเวเธ - ในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวด
เดียวกันในการแทงตลอด ธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน

ความว่า การแทงตลอดสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงสงเคราะห์
โดยความเป็นอันเดียวกัน, และความต่างกันแห่งนีวรณธรรมมีกาม-
ฉันทะเป็นต้น, กับทั้งความเป็นอันเดียวกันทั้งธรรมทั้งหลายมีเนก-
ขัมมะเป็นต้น, อธิบายว่า อภิสมัย คือ ตรัสรู้.

ก็ปฏิเวธนั้น ได้แก่ มรรคปัญญา 1 ผลปัญญา 1. มรรคปัญญา
เป็นปฏิเวธเพราะกำลังแทงตลอดด้วยการตรัสรู้สัจจะในขณะตรัสรู้สัจจะ,
ผลปัญญา เป็นปฏิเวธ เพราะแทงตลอดแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยใน คำว่า เอกสงฺคหตา ดังต่อไปนี้ :-
สังคหะ- การสงเคราะห์ มี 4 อย่างคือ ชาติสังคหะ - สงเคราะห์
โดยชาติ, สัญชาติสังคหะ - สงเคราะห์โดยสัญชาติ, กิริยาสังคหะ-
สงเคราะห์โดยการกระทำ, คณนสังคหะ - สงเคราะห์โดยการนับ.
บรรดาสังคหะ 4 อย่างนั้น สังคหะนี้ว่า กษัตริย์ทั้งปวงจงมา,
พราหมณ์ทั้งปวงจงมา, แพศย์ทั้งปวงจงมา, ศูทรทั้งปวงจงมา, หรือ
ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, และสัมมาอาชีวะ,
ธรรมเหล่านี้ ท่านสงเคราะห์ในสีลขันธ์1 ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ.
เพราะว่าในที่นี้ กษัตริย์เป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วทั้งหมด ท่านสงเคราะห์
เป็นอันเดียวกันโดยชาติ ดุจในฐานะแห่งคำที่กล่าวว่า คนชาติเดียวกัน
จงมา ดังนี้.
สังคหะนี้ว่า ชนชาวโกศลทั้งปวงจงมา, ชนชาวมคธทั้งปวง
จงมา, ชนชาวภารุกัจฉกะจงมา, หรือ ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สัมมา-
วายามะ, สัมมาสติ, และสัมมาสมาธิ, ธรรมเหล่านี้ ท่านสงเคราะห์
ลงในสมาธิขันธ์1 ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ. เพราะว่าในที่นี้
1. ม. มู. 12/508.

ชนชาวโกศลเป็นต้น ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เป็นอัน
เดียวกันโดยที่เป็นที่เกิด โดยที่เป็นที่อยู่อาศัย ดุจในฐานะแห่งคำที่
กล่าวว่า คนสัมพันธ์กันโดยชาติ ในที่เดียวกันจงมา ดังนี้.
สังคหะนี้ว่า นายควาญช้างทั้งปวงจงมา, นายสารถีฝึกม้าทั้งปวง
จงมา, หรือ ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สัมมาทิฏฐิ, และสัมมาสังกัปปะ,
ธรรมเหล่านี้ท่านสงเคราะห์ลงในปัญญา1 ดังนี้ ชื่อว่า กิริยาสังคหะ.
เพราะว่านายควาญช้างเป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เป็นอัน
เดียวกันด้วยการกระทำคือกิริยาของตน.
สังคหะนี้ว่า จักขายตนะ ย่อมถึงการนับโดยขันธ์เป็นไฉน ?
จักขายตนะย่อมถึงการนับได้ด้วยรูปขันธ์. หากว่า จักขายตนะย่อมถึง
การนับได้ด้วยรูปขันธ์, ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า จักขายตนะ
ท่านนับสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์2 ดังนี้ ชื่อว่า คณนสังคหะ. ในที่นี้
ท่านประสงค์เอาคณนสังคหะนี้.
การกำหนดนับสงเคราะห์ธรรมเป็นแผนก ๆ โดยความเป็นอัน
เดียวกัน ในอาการ 12 มีตถัฏฐะ - สภาพตามความเป็นจริงเป็นต้น มี
แก่สังคหะเหล่านั้น ฉะนั้น สังคหะเหล่านั้น จึงชื่อว่า เอกสังคหา,
ความเป็นแห่งเอกสังคหะ ชื่อว่า เอกสังคหตา - การสงเคราะห์ธรรม
ต่าง ๆ โดยความเป็นอันเดียวกัน.
1. ม. มู. 12/508. 2. อภิ. ก. 37/1128.

คำว่า ทสฺสนวิสุทฺธิญาณํ - ญาณในความบริสุทธิ์แห่ง
มรรคญาณและผลญาณ
ความว่า มรรคญาณและผลญาณ ชื่อว่า
ทัสนะ, ทัสนะนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ, ญาณคือทัสน-
วิสุทธิ ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิญาณ. มรรคญาณย่อมบริสุทธิ์ ฉะนั้นจึง
ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ, ผลญาณก็ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ เพราะบริสุทธิ์แล้ว.

41. อรรถกถา ขันติญาณุทเทส


ว่าด้วย ขันติญาณ


บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิปัสสนาญาณ 2 ประการอันให้สำเร็จทัสน-
วิสุทธิ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกขันติญาณและปริโยคาหณญาณ
ขึ้นแสดงต่อจากทัสนวิสุทธิญาณนั้น.
ในขันติญาณนั้น คำว่า วิทิตตฺตา ปญฺญา - ปัญญาในความ
ที่ธรรมปรากฏ
ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้ว เพราะรู้แจ้งซึ่งธรรม
มีรูปขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
คำว่า ขนฺติ ญาณํ - ขันติญาณ ความว่า ธรรมชาติใด
ย่อมรู้ธรรมโดยความเป็นของไม่เที่ยงนั่งเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ขันติ,
ญาณคือขันติ ชื่อว่า ขันติญาณ. ด้วยขันติญาณนี้ ย่อมห้ามอธิวาสน-